นักบุญแห่งล้านนาไทย
พระมหาเถระผู้ยิ่งใหญ่ด้วยทานะ สิละ สัจจะ ขันติ
ชาตะ ๑๑ มิถุนายน ๒๔๒๑
มรณะ ๒๑ กุมภาพันธ์ ๒๔๘๑
ครูบาเจ้าศรีวิชัย ท่านเป็นคนร่างเล็ก ผอมบาง ผิวขาว แม้ท่านจะไม่ได้ทํางานแบบใช้แรงงาน แต่การที่ท่านนั่งคอย ต้อนรับและให้พรแก่ประชาชนผู้มาทําบุญกับท่านนั้น ท่านจะต้อง “นั่งหนัก” อยู่ตลอดทั้งวัน ด้วยเหตุนี้ ท่านจึงเกิด อาพาธด้วยโรคริดสีดวงทวาร ที่สะสมมามนาน ตั้งแต่เริ่มเดินทางก่อสร้างบูรณะวัดในพื้นที่เขตล้านนา และการอาพาธ ได้กําเริบขณะที่กําลังสร้างสะพานข้ามแม่น้ําปิง
ไขปริศนาวันเวลาที่ครูบาเจ้าศรีวิชัยมรณภาพ
ครูบาเจ้าศรีวิชัยถึงแก่มรณภาพ ในวันที่ ๒๑ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๑ (หมายเหตุ ยังนับตามปฏิทินระบบเต็ม หากนับ แบบปัจจุบันคือปี ๒๔๘๒) ตรงกับวันอังคาร เดือน 6 เหนือ ขึ้น 9 ค่ํา ปีขาล มีหลักฐานยืนยันปรากฏในคําประพันธ์ ประเภท “ค่าว” ชื่อ “ค่าวฮ่จะเอาศพครูบาสีวิไชยมาเวียงลําพูน” บันทึกโดย “พ่อน้อย” ชาวบ้านอาศัยแถบประตู แสนปรุงชั้นนอก อําเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ ผู้อยู่ในเหตุการณ์การเคลื่อนย้ายศพ เขียนคําค่าวเป็นตัวอักษรธัมม์ ล้านนา ต่อมาปริวรรตเป็นภาษาไทยกลาง เมื่อวันที่ ๕ เมษายน พ.ศ. ๒๕๓e) โดย พ่อครูอินทร สิงหนาท อดีตประธาน สภาวัฒนธรรมอําเภอลี้ ผู้ล่วงลับ โดยพ่อครูอินทรได้รับต้นฉบับมาจากพ่อน้อยเป็ง จะถา หมู่ที่ ๒ บ้านห้วยแหน ตําบลป่าไผ่ อําเภอลี้ จังหวัดลําพูน ปัจจุบันคร่าวฉบับดังกล่าว เก็บรักษาไว้ที่วัดบ้านโฮ่งหลวง
พ่อน้อยจี้ เป็นลูกศิษย์ที่ติดตามครูบาเจ้าศรีวิชัยตั้งแต่ท่านยังมีชีวิต กล่าวถึงการเคลื่อนขบวนศพจากวัดบ้านปาง เข้าสู่วัดจามเทวีว่าเหตุการณ์ดังกล่าวเกิดขึ้นหลังจากครูบาเจ้าศรีวิชัยมรณภาพได้ราว ๑ ปีเต็ม
ตอนต้นของคร่าวระบุชัดว่า ครูบาเจ้าศรีวิชัย มรณภาพในวันอังคาร และปีขาล ทั้งสองข้อนี้ตรงกับวัน และปีที่ท่านชาตะ สําหรับเดือนและวันตามจันทรคตินั้นเดือน ๖ เหนือ (หรือเดือน ๔ ภาคกลาง) วันออก (ขึ้น) ๓ ค่ํา เมื่อตรวจสอบกับหนังสือปฏิทิน ๑,๒๐ ปีแล้ว ตรงกับ “วันที่ ๒๑ กุมภาพันธ์
จากการที่ท่านมรณะในเวลาก่อน 09.00 น. ของเช้าวันใหม่ แต่เลยเวลา ๒๔.00 น. ของคืนวันก่อนไปแล้ว คือ ๒๔.๕๐ นาที ๓๐ วินาที ถือเป็นเวลา ที่คาบเกี่ยวระหว่างคืนวันจันทร์หลังเที่ยงคืนเล็กน้อย กําลังย่างเข้าสู่เช้า วันใหม่ของวันอังคาร
ขั้นตอนการพระราชทานเพลิงศพ
ก่อนวันพระราชทานเพลิงศพ มีการเคลื่อนย้ายสรีระครูบาเจ้าศรีวิชัยลงใส่ปราสาทศพ ตามธรรมเนียมโบราณ ล้านนา ศพพระสงฆ์นิยมตั้งบําเพ็ญกุศลในปราสาทศพ ๗ วัน จากนั้นจึงเคลื่อนย้ายสู่เมรุพิธีอีก 6 วัน รวม ๑๕ วัน ระหว่างตั้งบําเพ็ญกุศล มีการละเล่น งานมหรสพ หนังกลางแปลง ละครคณะสายพิณ กลองแห่คณะเจ้าสะเลียมหวาน บ้านโฮ่ง เป็นเวลา ๑๕ วัน ๑๕ คืน ตั้งแต่ ๘-๒๒ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ ตามกําหนดการเดิมนั้น วันพระราชทางเพลิงศพ คือ วันที่ ๒๒ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๕๕ แต่ได้เลื่อนขึ้นมา 9 วัน เป็นวันที่ ๒๑ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๕๕
หลังจากงานพระราชทานเพลิงศพเสร็จสิ้น ได้มีการแบ่งอัฐิของท่านไปบรรจุไว้ตามสถานที่สําคัญต่างๆ 7 สถานที่หลัก ดังนี้
สถานที่ 1 วัดจามเทวี จังหวัดลําพูน
สถานที่ 2 วัดสวนดอก จังหวัดเชียงใหม่
สถานที่ 3 วัดพระแก้วดอนเต้า จังหวัดลําปาง
สถานที่ 4 วัดศรีโคมคํา จังหวัดพะเยา
สถานที่ 5 วัดพระธาตุช่อแฮ จังหวัดแพร่
สถานที่ 6 วัดน้ําฮู จังหวัดแม่ฮ่องสอน
สถานที่ 7 วัดบ้านปาง จังหวัดลําพูนอันเป็นวัดดั้งเดิมของท่าน