สมัญญาครูบาเจ้าศรีวิชัย

ครูบาเจ้า

พระครูอดุล สัลกิตติ์ (ประพัฒน์ ฐานวุฑโฒ) เจ้าอาวาสวัดธาตุคํา อําเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ ให้ความเห็นว่า ครูบาเจ้า หมายถึง พระภิกษุสงฆ์ผู้ที่มีคุณสมบัติพร้อมทุกอย่างเหมือนครูบา แต่ได้รับการแต่งตั้งให้ เป็นเจ้าอาวาสหรือเจ้าหัวหมวดอุโบสถตามระบบการปกครองพระพุทธศาสนาในล้านนาแบบเดิม บางรูปอาจสืบเชื้อสาย จากเจ้าผู้ครองนคร จากพระบรมวงศานุวงศ์ก็ได้

นอกจากนี้พระครูวิสุทธิธรรมโฆสิต (สัมพันธ์ สิริธมโม) เจ้าอาวาสวัดปงชัย ลําพูน ยังพบว่า “ครูบาเจ้า” ใช้เรียก พระภิกษุที่มีบุญบารมีสูงได้ด้วยเช่นกัน แม้ไม่ได้รับการแต่งตั้งให้ดํารงใด ๆ ดังที่ใช้เรียก “ครูบาเจ้าศรีวิชัย”

การเรียกพระภิกษุล้านนาว่าครูบาขณะเมื่อมีชีวิตอยู่ พบเห็นได้อยู่เสมอในวัฒนธรรมล้านนา แต่การใช้คําว่า ครูบาเจ้าในอดีตพบไม่บ่อยนัก เป็นคําที่สะท้อนให้เห็นถึงการเคารพยกย่อง พระศรีวิชัยเหนือพระสงฆ์รูปอื่น

หลักฐานยืนยันว่าชาวล้านนาได้เรียก พระศรีวิชัยว่า “ครูบาเจ้า” มีมาแล้วตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๔๖๑ เมื่อท่าน อายุ ๔๐ ปี พรรษา ๑๔ เป็นข้อความบนแผ่นจารึกไม้สีแดง เดิมอยู่ในวิหารวัดแม่ตื่น ตําบลแม่ตื่น อําเภอลี้ จังหวัด ลําพูน ต่อมา เก็บรักษาในกุฏิเจ้าอาวาส ข้อความเขียนด้วยอักษร ธัมม์ล้านนา อาจารย์ภูเดช แสนสา อาจารย์ ประจํา หลักสูตรวัฒนธรรมศึกษา ภาควิชาสังคมและวัฒนธรรม ศึกษา คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ ปริวรรตถอดความได้ดังนี้

“วัดแม่ปืน ครูบาเจ้าชีวิไชยาชนะ เป็นเค้าได้ ติดจัดการก่อส้าง ขึ้นเมื่อพุทธสักกราชได้ ๒๔๖๑ จุลสุกราช ได้ ๑๒๘๐ตัว ปีกัดเม็ด เดือน 6 เทง เมงวันสุก”

ครูบาหลวง

“ครูบาหลวง” หรือ “ตุ๊เจ้าหลวงที่ดี” ก็เป็นคําอีกกลุ่มหนึ่งที่ใช้เรียกเฉพาะครูบาเจ้าศรีวิชัย อย่างแพร่หลาย อีกเช่นกัน (ชาวบ้านยกย่องท่านเทียบได้กับการเรียก ครูบาหลวงวัดฝายหิน ผู้เป็นสังฆราชาแห่งเชียงใหม่) เป็นการยกย่อง ว่าเป็นครูบาของครูบาทั้งปวง ยังมีชุมชนหลายอําเภอ อาทิเช่น ชาวอี้ แม่ทา ทุ่งหัวช้าง เสริมงาม พาน แม่ใจ ฯลฯ ล้วนเรียกท่านว่า “ครูบาหลวง” ด้วยเช่นเดียวกัน

ทั้งสองคํานี้ “ครูบาเจ้า” และ “ครูบาหลวง” มีการใช้เรียกแทนกัน เป็นคําที่เกิดขึ้นในช่วงเวลา ใกล้เคียงกัน อีกทั้งเป็นคําเรียกจากฝ่ายคณะสงฆ์ล้านนาและชาวล้านนาทั่วไป ถือเป็นการยกย่องครูบาเจ้าศรีวิชัย ให้อยู่เหนือพระสงฆ์รูปอื่น ๆ

ครูบาตันบุญ หรือนักบุญแห่งล้านนา

“ครูบาตันบุญ” หรือเขียน “ตนบุญ” (หมายถึงผู้มีบุญ) ภาษาภาคกลางเรียกว่า “นักบุญ” อันเป็นสมัญญา ที่ครูบาเจ้าศรีวิชัยได้รับการเรียกขานมานานเกือบศตวรรษว่าเป็น “นักบุญแห่งล้านนา”

เปรียบเทียบคําว่า “ต้นบุญ” กับธรรมเนียมการขนานนามพระสงฆ์ในเชียงตุง พบว่าที่เชียงตุง ยังมี ตําแหน่งทางสังคมอีกตําแหน่งหนึ่ง ที่อยู่ในฐานะเป็นศูนย์รวมจิตใจของประชาชน ไม่เฉพาะบ้านหรือเมืองใดเมืองหนึ่ง นั่นคือตําแหน่ง “เจ้าหน่อต้นบุญ” ใช้เรียกขานพระภิกษุและสามเณรผู้ประพฤติดี ปฏิบัติชอบมาตลอดอายุการบวช คําว่า “เจ้าหน่อต้นบุญ” จึงเทียบได้กับ “ต้นบุญ” หรือ “ครูบาตันบุญ”

แนวคิด “ต้นบุญ” ของชาวล้านนา ถือเป็นอุดมการณ์ทางศาสนาอันยิ่งใหญ่ ได้รับการสืบทอดมาจาก พระพุทธศาสนาฝ่ายมหายานที่เข้ามาผสมผสาน กับคติพุทธเถรวาทของพื้นเมือง ที่มีความเชื่อว่าศาสนาพุทธจะเสื่อมลง ในช่วงระยะ ๕,000 ปี แต่จะมี “ต้นบุญ” เกิดขึ้นมาช่วยกอบกู้พระพุทธศาสนาในยามที่บ้านเมืองเกิดวิกฤติทุกข์เข็ญ เนื่องจาก “ต้นบุญ” ผู้นั้นเคยได้รับการพยากรณ์จากอดีตพุทธเจ้ามาก่อนแล้ว และในชาตินี้ “ต้นบุญ” จะถือกําเนิด เป็นบรรพชิต ที่มีบุคลิกลักษณะพิเศษ คือมีความเคร่งครัดในศีลาจารวัตร มีความสามารถในการสร้างผลงานด้านศาสนกิจ ให้สําเร็จลุล่วง ก่อให้เกิดความเลื่อมใสศรัทธาแก่ทุกกลุ่มชน สามารถเป็นศูนย์รวมจิตใจผู้คนทุกหมู่เหล่า ซึ่งการบําเพ็ญ บารมีเช่นนี้ก็เพื่อจะไปเกิดเป็นพระโพธิสัตว์หรือพระพุทธเจ้าในอนาคต (พระศรีอาริยเมตไตรยในภัทรกัปนี้ หรือ อนาคตพุทธเจ้าองค์ อื่น ๆ ในกัปหน้า) เพื่อช่วยเหลือเวไนยสัตว์ให้พ้นจากความทุกข์ในห้วงวัฏสงสารต่อไป

ครูบาศีลธรรม

“ครูบาศีลธรรม” พบว่าในเมืองเชียงตุงมีการเรียกสามเณรบางรูปผู้มีวัตรปฏิบัติเรียบร้อย มีอากัปกิริยา สงบเสงี่ยมสํารวม ถือศีลกินเจมาโดยตลอด ไม่ซุกซนเหมือนเณรน้อยทั่ว ๆ ไป จึงเป็นที่เคารพรักของชาวเชียงตุง เรียกว่า “สามเณรศีลมัน” หากสามเณรรูปนั้นยังยืนหยัดมันคงในศีลอันบริสุทธิ์ อยู่จนถึงเป็นพระภิกษุ ก็จะเรียกว่า “ตุ๊เจ้าศีลธรรม”

“ครูบาศีลธรรม” เป็นอีกนามที่ชาวล้านนา ใช้เรียกครูบาเจ้าศรีวิชัย อันเนื่องมาจากเหตุที่ท่านตั้งใจ ประพฤติดี ไม่หวั่นไหว เคร่งครัดรักษาศีลปฏิบัติธรรม และไม่รู้จักเบื่อที่จะเทศนาสั่งสอนเรื่องศีลเรื่องธรรม ความยึดมั่น ในศีลธรรมของท่านถึงขั้นตั้งสัจจาธิษฐานว่า ขอเป็นพระโพธิสัตว์ หรือขอบําเพ็ญบารมีช่วยเหลือผู้คน ให้พ้นทุกข์ ขอเป็นพระพุทธเจ้าองค์หนึ่งในอนาคต หากเปรียบกับบริบทของทางเชียงตุง จึงได้ชื่อว่าเป็นทั้ง “เจ้าหน่อต้นบุญ” และ “ตุ๊เจ้าศีลธรรม” ในเวลาเดียวกัน

ทั้งนี้ บางพื้นที่อาจมีชื่อเรียกขานท่านในนามอื่นที่แตกต่างกันออกไป เช่น ที่อําเภอพร้าว จังหวัดเชียงใหม่ เรียกท่านว่า “ครูบาทันใจ” หรือ “ตุ๊เจ้าตันใจ” เนื่องจากท่านเป็นสัญลักษณ์ของความสําเร็จ ใช้เวลาก่อสร้าง เสนาสนะเสร็จในเวลาอันรวดเร็ว เป็นต้น ตราประทับประจําตัวครูบาเจ้าศรีวิชัย : ประทับตราออกใบสุทธิการอุปสมบทและบรรพชาให้ภิกษุและสามเณร


ตราประทับ

ตราประทับ ประกอบด้วย รูปเสือสัญลักษณ์ประจําปีเกิดอยู่กึ่งกลางในวงกลมรูปไข่ ๒ วง ขอบวงกลมด้านนอก มีลายหยักรูปสามเหลี่ยม และมีตัวอักษรเขียนนามท่าน ๕ ภาษา ได้แก่

  • ภาษาล้านนา เขียนอักษรธัมม์ “ครูบาสีวิไชชน (ชะนะ)”
  • ภาษาไทยกลาง เขียนว่า “พระศรีวิชัยชะนะ”
  • ภาษาพม่า เขียนว่า “ชีวิชายชะนะสะหย่าต่อ (สะหย่าต่อ หรือ ศยาตอ หมายถึง ปราชญ์ ผู้รู้ พระอาจารย์)”
  • ภาษาอังกฤษ เขียนว่า “PRA SRIVICHAI CHANA”
  • ภาษาจีน เขียนเป็นภาษาโบราณ ออกเสียงสําเนียงแต้จิ๋ว “พะ สีวุย (มิก) ใจ ช่า นา”

แชร์องค์ความรู้ครูบาเจ้าศรีวิชัยให้กับเพื่อนๆ

thไทย