ชีวิตวัยเยาว์ ครูบาเจ้าศรีวิชัย

ในอดีตชื่อครูบาเจ้าศรีวิชัย ชาวล้านนานับถือและศรัทธาท่าน เรียกท่านว่าเป็น “ตนบุญ” (ต้นบุญ) หรือ “นักบุญ” อันมีความหมายเชิงยกย่องว่าเป็นนักบวชที่มีคุณสมบัติพิเศษ มีการเรียกท่านอีกหลายชื่อว่า ครูบาเจ้าศรีวิชัย พระครูบาเจ้าศรีวิชัย ครูบาศีลธรรม หรือ ทุเจ้าสิริ (อ่าน “ตุ๊เจ้าสิลิ”) แต่ท่านมักเรียกตนเองเป็น “พระชัยยาภิกขุ” หรือ “พระศรีวิชัยชนะภิกขุ”

เดิมท่านชื่อ เพื่อน หรือ อินท์เพื่อน บางคนเรียกชื่อว่า อ้ายฟ้าร้อง สืบเนื่องจากในขณะที่ท่านถือกําเนิดนั้น ปรากฏว่ามีฝนฟ้าคะนองอย่างหนัก เปื้อน หมายถึง กระเทือน สนั่น ไหว ทําให้หวั่นไหว ส่วนอินท์เพื่อน หมายถึง ผู้ที่เกิดมา ทําให้พระอินทร์หวั่นไหว เกิดกัมปนาทหวั่นไหวถึงสวรรค์ หรือเมืองของพระอินทร์

ครูบาเจ้าศรีวิชัยเกิดในปีขาล เดือน ๔ ภาคเหนือ (เดือน ๗ ของภาคกลาง) ขึ้น ๑๑ ค่ำ จุลศักราช (จ.ศ.) ๑๒๔๐ เวลาพลบค่ำ ตรงกับวันอังคารที่ ๑๑ เดือนมิถุนายน พ.ศ. ๒๔๒๑ ณ หมู่บ้านชื่อ “บ้านปาง” ตําบลแม่ตื่น อําเภอลี้ จังหวัดลําพูน ท่านเป็นบุตรของนายควาย และนางอุสา มีพี่น้องทั้งหมด ๕ คน มีชื่อตามลําดับ คือ

๑. นายไหว (อินทร์ไหว เสียชีวิตตั้งแต่เยาว์วัย) ๒. นางอวน (แม่หลวงอวน สมรสกับพ่อหลวงอิน อิ่นมา) ๓. นายอินท์เพื่อน (ครูบาเจ้าศรีวิชัย) ๔. นางแว่น ๕. นายทา

โดย นายควาย บิดาของท่านได้ติดตามผู้เป็นตา คือ หมื่นปราบ (ผาบ) ซึ่งมีอาชีพเป็นหมอคล้องช้างของเจ้าหลวง ดาราดิเรกฤทธิ์ไพโรจน์ (เจ้าผู้ครองนครลําพูนองค์ที่ ๒ ช่วง พ.ศ. ๒๔๑๔ ๒๔๓๑) ไปบุกเบิกตั้งครอบครัวทํากินอยู่ที่บ้านปาง บ้านเดิมของนายควาย อยู่ที่บ้านสันป่ายางหลวง ทางด้านเหนือของตัวเมืองลําพูน

สมัยที่ครูบาเจ้าศรีวิชัย หรือนายอินท์เฟือน ยังเป็นเด็กอยู่นั้น บ้านปางยังทุรกันดารมาก มีชนกลุ่มน้อยหรือ กลุ่มชาติพันธุ์อาศัยอยู่มาก โดยเฉพาะชาวปกาเกอญอ (กะเหรี่ยง) มีจํานวนมากสุด ในสมัยนั้นบ้านปางยังไม่มีวัด ประจําหมู่บ้าน จนกระทั่งเมื่อนายอินท์เฟือนมีอายุได้ ๑๗ ปี ได้มีพระภิกษุรูปหนึ่ง ชื่อ ครูบาขัตติยะ (ชาวบ้าน เรียกว่า ครูบาแต่งแคระ เพราะท่านเดินขากะเผลก) เดินธุดงค์จากบ้านป่าซาง ผ่านมาถึงบ้านปาง ชาวบ้านจึงนิมนต์ ท่านให้อยู่ประจําที่บ้านปาง แล้วชาวบ้านก็ช่วยกันสร้างกุฏิชั่วคราวให้ท่านจําพรรษา

แชร์องค์ความรู้ครูบาเจ้าศรีวิชัยให้กับเพื่อนๆ

thไทย