ครูบาขัตติยะ อาจารย์คนแรกของครูบาเจ้าศรีวิชัย
ข้อมูลจากเอกสารหลายเล่มกล่าวตรงกันว่า ครูบาเจ้าศรีวิชัยบรรพชา ในปี พ.ศ. ๒๔๓๕ เมื่อมีอายุได้ ๑๘ ปี มูลเหตุจูงใจที่ทําให้บรรพชามาจาก ความเชื่อของสังคมไทยที่ว่าผู้ชายควรผ่านการบวชเรียน เพื่อจะได้มีวิชา ทางธรรมมากํากับชีวิตทางโลก และเป็นเพราะครูบาเจ้าศรีวิชัยตระหนักในความทุกข์ยาก ที่ต้องเกิดมาเป็นมนุษย์ อันมีกรรมเก่าเป็นพื้นฐาน จึงปรารถนาที่จะพ้นทุกข์เพื่อตัดกรรมนั้น ทําให้ได้ขออนุญาตบิดามารดาไปฝากตัว เป็นศิษย์ ภาษาล้านนา เรียก “ขะโยม” อยู่กับ “ครูบาขัตติยะ” ที่วัดบ้านปาง
พระอานันท์ พุทธธมุโม ให้รายละเอียดว่า ชาวบ้านเรียก “ครูบาขัตติยะ” ว่า “ตุ๊เจ้าขัติ” หรือ “ครูบาแข้งแคระ” (ภาษาถิ่นเหนือออกเสียง แข้งแคะ) เนื่องจากมีขาสีบเดินกระโผลกกระเผลก ชาวบ้าน บ้านปาง เล่าว่าสาเหตุที่ท่านขาพิการข้างหนึ่งนั้น ไม่ได้เป็นมาแต่กําเนิดหากแต่ถูกพรานป่ายิงขณะเดินธุดงค์ด้วย ผู้ที่ยิ่งนั้น เข้าใจว่าท่านเป็นเสือที่โผล่ออกมาจากป่า
ครูบาขัตติยะไม่ใช่คนพื้นเพเมืองลี้ แต่มาจากป่าซาง-บ้านโฮ่ง กล่าวกันว่าเดินธุดงค์มาถึงบ้านปาง ช่วงเทศกาลปีใหม่เมือง พ.ศ. ๒๕๓๘ ชาวบ้านจึงนิมนต์ให้ท่านจําพรรษาในหมู่บ้าน เนื่องจากบ้านปางมีวัดน้อย และมีพระน้อย ชาวบ้านช่วยกันสร้างกุฏิและวิหารชั่วคราวถวาย เรียกชื่อว่า “วัดบ้านปาง” ซึ่งวัดบ้านปางไม่ได้เป็น วัดใหม่ แต่มีร่องรอยซากโบราณสถานร้าง ที่สร้างมาตั้งแต่สมัยล้านนาแล้ว (วัดบ้านปางแห่งเดิม เคยอยู่ข้างล่าง กลางหมู่บ้าน ปัจจุบันบริเวณนี้ไม่มีวัดแล้ว)
หลังจากครูบาขัตติยะจําพรรษาที่วัดบ้านปาง ได้พบกับ “อินตาเพื่อน” (ครูบาเจ้าศรีวิชัย) ซึ่งเลี้ยงควายอยู่ในทุ่ง จึงชักชวนให้เข้ามาเรียนสูตรธรรมและเครื่องบรรพชากรรมกับท่าน จากนั้น “เมื่อพันพรรษาแล้วก็บวชเณร” การจัดการ บรรพชาเป็นสามเณรให้ มิได้หมายความว่าครูบาขัตติยะต้องเป็นพระอุปัชฌาย์ให้ด้วยเสมอไป เนื่องจากช่วงนั้นเจ้าขติ มิได้รับการแต่งตั้งให้มีสิทธิ์เป็นพระอุปัชฌาย์แต่อย่างใด
ข้อมูลจากเอกสารเก่าที่เขียนสมัยช่วงที่ครูบาเจ้าศรีวิชัยยังมีชีวิตอยู่ สองเล่ม ระบุชัดเจนว่า “ครูบาสมณะ” คือพระอุปัชฌาย์ บรรพชาอินตาเพื่อนเป็นสามเณร เล่มแรก เรื่อง “ประวัติท่านพระสีวิไชย วัดบ้านพาง” ของเจ้าสุริยวงศ์ (คําตัน สิโรรส) และเล่มสอง เรื่อง “ตํานานครูบาศรีวิชัยแบบพิสดาร” ฉบับที่สถาบันวิจัยสังคม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ปริวรรต
สองเล่มนี้ระบุตรงกันว่า ครูบาเจ้าศรีวิชัยบรรพชาสามเณรกับครูบาสมณะ วัดบ้านโฮ่งหลวง
โดยหลังจากที่บรรพชาเสร็จแล้วก็กลับมาฝากตัวอยู่กับครูบาขัตติยะต่ออีก “ได้วัสสาหนึ่ง ก็ได้บวชเป็น สามเณร ครูบาสมณะวัดบ้านโฮ่งหลวงเป็นพระอุปัชฌาย์”
เมื่อวิเคราะห์ตามธรรมเนียมการบรรพชาอุปสมบทของชาวล้านนาแต่ครั้งอดีตแล้ว ผู้ที่จะเป็น
อุปชฌาย์ได้ จะต้องเป็นเจ้าหัวหมวดอุโบสถ และในขณะนั้นครูบาสมณะเป็นเจ้าหัวหมวดอุโบสถบ้านโฮ่ง (ดูแลเขตพื้นที่ครอบคลุมทั่วอําเภอลี้ บ้านโฮ่ง ทุ่งหัวช้าง) ตามธรรมเนียมสงฆ์ล้านนา ท่านจึงเป็นพระอุปัชฌาย์ที่มี
ความชอบธรรม ด้วยเหตุนี้เมื่อจะบรรพชาสามเณรให้กับอินตาเพื่อน ครูบาขัตติยะย่อมพาไปหาครูบาสมณะ วัดบ้านโฮ่งหลวง แต่หลังจากบรรพชาแล้ว เณรอินตาเพื่อนยังคงศึกษาเล่าเรียนอยู่กับครูบาขัตติยะตามเดิมที่วัดบ้านปาง
ช่วงปลายชีวิตของครูบาขัตติยะ มีผู้เขียนถึงกันน้อยมาก ในหนังสือของพระ อานันท์ พุทธมโม ระบุว่า “ท่านเข้าไปอาศัยอยู่ในถ้ํากลางป่า ต่อมาไม่นานก็ถึงแก่มรณภาพ…”
ภายหลังมีบันทึกในทํานองเดียวกันว่า ตุ๊เจ้าขัติ ได้ไปจําพรรษาที่วัดอื่น ไม่นานก็มรณภาพ ปรากฏในใบลาน ประวัติครูบาเจ้าศรีวิชัย ฉบับวัดข้าวแท่นน้อย ว่า “ส่วนครูบาขัติเจ้าอธิการก็หนีไปเสีย บ่ปอเมิน นานก็พิลาไลไปเสีย”
งานเขียนของ ส.สุภาภาระบุว่า “จะเป็นด้วยเหตุใดไม่ปรากฏ พระอธิการวัดบ้านปางได้หนีจากบ้านปางเข้า ไปอาศัยอยู่ในถ้ํากลางป่า ต่อมาไม่นาน อาจารย์ก็ถึงแก่มรณภาพ”
หนังสือของ นพคุณ ตันติกุล ระบุว่า “ออกรุกขมูลไปจากวัด และไม่กลับคืนมา” เป็นการอธิบายเรื่องการหนี ว่าไปปฏิบัติกัมมัฏฐานในป่าจนมรณภาพ
มีหลักฐานที่พอจะยืนยันได้ว่า ราวปี พ.ศ. ๒๔๔๒ ครูบาขัตติยะน่าจะลาสิกขาบทไปแล้ว เนื่องจากปรากฏ ชื่อของ “ครูบาคําปัน” มาเป็นเจ้าอาวาสวัดบ้านปางแทนในช่วงระยะเวลาสั้น ๆ
ใบลานที่วัดบ้านปางผูกหนึ่ง ชัยวุฒิ ไชยชนะ ได้ปริวรรตถอดความว่า “สระเด็จแล้วยามงาย เจ้าที่ใหว้เหย ภิกขุ ลิกขิตตะอัตตะโน เขียนปางเมื่ออยู่วัดบ้านทาง วันนั้นแล ปางเมื่อปฏิบัติสวาธเจ้าตําพัน วันนั้นแล สักราช ได้ ๑๒๖๑ ตัว ปีกัดได้ แลเน้อ เดือน ๕ ออก ๑๐ คํา พร่ําว่าได้วันอังคาร
จากข้อความดังกล่าวนี้ระบุถึงจุลศักราช ๑๒๖๑ อันตรงกับพุทธศักราช ๒๔๔๒ แสดงให้เห็นว่าปีนั้น มีเจ้าอาวาสชื่อ “สวาธุเจ้าคําปัน” แล้ว ไม่ใช่ครูบาขัตติยะอีกต่อไป ครูบาสมณะ วัดบ้านโฮ่งหลวง พระอุปัชฌาย์
ครูบาสมณะ (สม สมโณ) มีนามเต็มว่า “ครูบาสมณะคามวาสีมหาเถร” ชื่อเล่น “ตุ้ย” เพราะท่านมีรูปร่าง อ้วนท้วม ข้อมูลจากพระครูปริยัติรังสรรค์ (รังสรรค์ ธีรวฑฒโน) เจ้าอาวาสวัดบ้านโฮ่งหลวงรูปปัจจุบัน บันทึกไว้ว่า คนละแวกบ้านโฮ่งนิยมเรียก ติดปากว่า “ครูบาตุ้ย” ท่านเกิด พ.ศ. ๒๓๔๙๓ เป็นบุตรของพ่อหนานอุด และแม่เฮือน ชาวบ้านโฮ่งหลวง เด็กชายสมบรรพชาเมื่อ พ.ศ. ๒๕๐๕ และอุปสมบท เมื่อ พ.ศ. ๒๔๑๓ ณ วัดบ้านโฮ่งหลวง ได้ฉายา “สมโณ” เรียนกัมมัฏฐาน บาลีมูลกัจจายน์ สัททะบาลีไวยากรณ์ กับครูบาสมเด็จเชษฐวชิรปัญญามหาเถร วัดสันต้นธง ลําพูน ซึ่งสืบสายมาจากครูบากัญจนะ อรัญวาสีมหาเถร วัดสูงเม่น เมืองแพร่
ต่อมาได้เป็นเจ้าอาวาสวัดบ้านโฮ่งหลวง ระหว่าง พ.ศ. ๒๕๑๓ – ๒๕๕๓ และเป็นเจ้าหัวหมวด แคว้นบ้านโฮ่ง ชื่อของวัดบ้านโฮ่งหลวง ตามเอกสาร โบราณเขียนชื่อเดิมว่า “วัดมหาสังฆารามสะหรีบุญเรือง บ้านโห้งเหนือ” นามนี้ ต่อมาเป็นต้นแบบให้ครูบาเจ้าศรีวิชัยน้อมนําไปตั้งเป็นชื่อเต็มของวัดบ้านปางที่ท่านสร้างใหม่ว่า “วัดศรีดอนไชย ทรายมูลบุญเรือง” และเปลี่ยนเป็น “วัดจอมสะหรีทรายมูลบุญเรือง” ในเวลาต่อมา