วัตรปฏิบัติตามแนวทางครูบาเจ้าศรีวิชัย ถือเป็นกุศโลบายในการรักษาสมดุลขององค์ประกอบพระพุทธศาสนา ที่มีแกนหลัก ๕ ด้าน ประกอบด้วย
- ศาสนธรรม
- ศาสนบุคคล
- ศาสนพิธี
- ศาสนสถาน
- ศาสนวัตถุ
ด้านศาสนสถาน และด้านศาสนวัตถุ ถือเป็นเครื่องส่งเสริมยึดเหนี่ยวจรรโลงจิตใจให้ฝักใฝ่ธรรมได้ประการหนึ่ง อานิสงส์ของการสร้างวิหาร หรือการให้ทานด้วยวิหารนั้นจัดอยู่ในประเภท “อาวาสทาน” อันประกอบด้วยอาคาร พุทธสถานที่อยู่ภายในวัด เช่น วิหาร หอไตร โบสถ์ ศาลาการเปรียญ กุฏิสงฆ์ ฯลฯ อาวาสทานนี้ถือเป็นอิสระกว่า ทานทั้งปวงในฝ่ายพระสูตร ตรงกันข้ามกับ “จีวรทาน” ถือเป็นทานอันประเสริฐในฝ่ายพระวินัย บุคคลใดถวาย อาวาสทานแด่สงฆ์ สมเด็จพระศาสดาจารย์ตรัสว่า
“บุคคลนั้นได้ชื่อว่าให้ซึ่งอายุ วรรณะ สุขะ พละ และปฏิภาณอันประเสริฐ ผู้ให้วิหารนั้นจักได้เสวยยิ่ง ซึ่ง บริโภคสมบัติทั้งหลายอันเป็นที่รื่นรมย์ใจในภพชาติทั้งปวง”
ครูบาเจ้าศรีวิชัยเป็นผู้มีศีลาจารวัตรที่งดงามและเคร่งครัด งดการเสพ หมาก เมี่ยง บุหรี่ โดยสิ้นเชิง งดฉัน เนื้อสัตว์ตั้งแต่อายุ ๒๖ ปี และฉันอาหารเพียงมื้อเดียว ซึ่งมักเป็นผักต้มใส่เกลือกับพริกไทเล็กน้อย บางทีก็ไม่ฉันข้าว ทั้ง ๕ เดือน คงฉันเฉพาะลูกไม้หัวมันเท่านั้น นอกจากนี้ท่านยังงดฉันผัก เรียงตามวันทั้ง ๗ คือ
- วันอาทิตย์ ไม่ฉันฟักแฟง
- วันจันทร์ ไม่ฉันแตงโมและแตงกวา
- วันอังคาร ไม่ฉันมะเขือ
- วันพุธ ไม่ฉันใบแมงลัก
- วันพฤหัสบดี ไม่ฉันกล้วย
- วันศุกร์ ไม่ฉันเทา (อ่านว่า “เตา” เป็นสาหร่ายน้ําจืดชนิดหนึ่ง ลักษณะคล้ายเส้นผม มีสีเขียว)
- วันเสาร์ ไม่ฉันบอน
รวมถึงผักที่ท่านไม่ฉัน คือ ผักบุ้ง ผักปลอด ผักเปลว ผักหมากขี้กา ผักจิก และ ผักเฮือดผักอี้ (ใบไม้เสียบอ่อน) โดยท่านให้เหตุผลว่า
“ถ้าพระภิกษุและสามเณรรูปใดงดเว้นได้ การบําเพ็ญกัมมัฏฐานจะเจริญก้าวหน้า ผิวพรรณจะเปล่งปลั่ง ธาตุทั้ง ๔ จะเป็นปกติ หากชาวบ้านงดเว้นได้ จะทําให้การถือคาถาอาคมดีนัก”
ครูบาเจ้าศรีวิชัยมีความปรารถนาที่จะบรรลุธรรมะอันสูงสุด ดังปรากฏจากคําอธิษฐานบารมีที่ท่านอธิษฐาน ไว้ว่า “ตั้งปรารถนาขอซื้อได้ถึงธรรมะยึดเหนี่ยวเอาพระนิพพานสิ่งเดียว” และมักจะปรากฎความปรารถนา ดังกล่าว ในตอนท้ายของคัมภีร์ใบลานที่ท่านสร้างไว้ทุกเรื่อง