ปฐมบท “ตามรอยจอบแรกครูบาเจ้าศรีวิชัย” เมื่อ พ.ศ.๒๕๕๗) “หลวงศรีประกาศ” ได้พา “ หลวงธํารง นาวาสวัสดิ์” ขึ้นไปพักที่บ้านพักบนดอยสุเทพ หลวงธํารงนาวาสวัสดิ์ คงจะรําคาญ เพราะเป็นชาวกรุง บ้านพักบน ดอยสุเทพตอนกลางคืนลําบากมาก อีกประการหนึ่งบนดอยสุเทพยังไม่มีไฟฟ้า ท่านได้ปรารากับหลวงศรีประกาศ ขอให้หาวิธีนําไฟฟ้าขึ้นไปใช้บนดอยสุเทพ
หลวงศรีประกาศรับปากโดยบอกว่าจะไปปรึกษากับ “ครูบาศรีวิชัย” สมัยนั้น กําลังบูรณะวัดสวนดอกอยู่ การติดต่อกับครูบาศรีวิชัย ครั้งนั้นท่านได้ผลัดเวลาไว้ ๓ วัน ให้ไปฟังข่าว เมื่อครบ ๓ วันแล้ว “ท่านบอกว่าการนําไฟฟ้าขึ้นพระธาตุดอยสุเทพนั้นไม่สําเร็จ แต่ถ้าทําทางขึ้นก่อนจะได้ใช้ไฟฟ้าแน่นอน”
การบูรณปฏิสังขรณ์สร้างวัดวาอารามและสาธารณสมบัติที่โดดเด่นที่สุดของครูบาเจ้าศรีวิชัย ที่สร้างได้ อย่างสวยงาม ใหญ่โต เป็นที่เลื่องลือ ในบุญบารมีของท่าน ได้แก่ การบูรณปฏิสังขรณ์เสนาสนะวัดพระธาตุหริภุญชัย จังหวัดลําพูน เริ่มเมื่อ พ.ศ. ๒๔๖๓ จนถึงช่วงปลายชีวิตของท่านได้กลับมาจําพรรษาที่จังหวัดลําพูนอีกครั้ง ในปี พ.ศ. ๒๔๙๗ce และยังมีวัดที่สําคัญ ดังนี้
วัดศรีโคมคําหรือวัดพระเจ้าตนหลวง จังหวัดพะเยา ปี พ.ศ. ๒๔๖๕ วัดพระสิงห์ จังหวัดเชียงใหม่ ปี พ.ศ. ๒๕๖๑-๒๔๗๑ วัดสวนดอก จังหวัดเชียงใหม่ ปี พ.ศ. ๒๔๗๔-๒๔๗๕
สิ่งก่อสร้างที่มหาชนชาวล้านนาจดจําได้ดีที่สุด ประชาชนชาวไทยและชาวต่างชาติ ได้รู้จักครูบาเจ้าศรีวิชัย ผ่านกระบวนการพัฒนาศาสนะสถาน ไม่ว่ากาลเวลาจะผ่านไปนานสักเพียงใดก็ตาม คือ การสร้างทางขึ้น วัดพระธาตุดอยสุเทพ ปี พ.ศ. ๒๔๗๗-๒๔๗๘
โดยจะกล่าวถึงรายละเอียดของการสร้างถนนขึ้นสู่ดอยสุเทพเป็นคุณูปการหลัก ครูบาเจ้าศรีวิชัย สร้างถนนขึ้นสู่ดอยสุเทพ มีรายละเอียดปรากฏอย่างแพร่หลายตามเอกสารต่าง ๆ เช่นหนังสือของ ส. สุภาภา ทั้ง ๒ เล่ม คือ ชีวิตและงานของครูบาเจ้าศรีวิชัย (๒๔๙๔) และประวัติครูบาเจ้าศรีวิชัยร่วมกับหลวงศรีประกาศ ตอนสร้างทางขึ้นดอยสุเทพ (๒๕๑๘) ทั้งสองเล่มมีเกร็ดเล็กเกร็ดน้อยที่ต่างกันออกไป และเป็นต้นฉบับให้ หนังสือเล่มอื่น และงานเขียนในภายหลังใช้อ้างอิง การสร้างถนนขึ้นวัดพระธาตุดอยสุเทพเป็นส่วนหนึ่งของทาง หลวงแผ่นดินหมายเลข ๑๐๐๔ เชื่อมจากเขตเทศบาลนครเชียงใหม่ กับเทศบาลตําบลสุเทพ โดยช่วงตั้งแต่แข่ง หัวรินถึงสวนสัตว์เชียงใหม่เรียกว่า “ถนนห้วยแก้ว” ช่วงตั้งแต่อนุสาวรีย์ครูบาเจ้าศรีวิชัยถึงดอยสุเทพเรียกว่า “ถนนศรีวิชัย
หลักฐานจารึกบน “หมุดซีเมนต์” เป็นข้อความเกี่ยวกับการสร้างทางขึ้นดอยสุเทพ สร้างอยู่บนแท่งเสา ซีเมนต์ ปักอยู่ทางด้านขวาก่อนขึ้นสู่ถนนหน้าวัดศรีโสดา ใกล้กับป้อมตํารวจตอนบนของหมุดเป็นแผ่นสี่เหลี่ยม จัตุรัส มีหลังคาคลุม เขียนข้อความยาว ๗ บรรทัด ๓ บรรทัดบน เป็นภาษาบาลี ๔ บรรทัดล่างเป็นภาษาไทย กลาง นอกจากนี้ยังพบว่า ตอนล่างคล้ายว่าเคยมีตัวอักษรธัมม์ล้านนาแต่ได้ถูกกระเทาะออก การถอดคํา ค่อนข้างยาก เนื่องจากบางจุดตัวอักษรลบเลือนไป บางจุดมีคราบเขม่าสีดําปิดทับตัวอักษร
ดังนั้น จึงขอใช้สัญลักษณ์แทนตัวอักษรที่อ่านไม่ออก ดังนี้ “สัทธิงก์ มัคคํา เสระ เสท.. นะพหซะน… ศรีวิชัยโยชนะ……………ขาล…………..วาลก…ป…… นิธานะนิพาน ……………โยโหตุโนนิจจ์ ครูบาศรีวิชัยยาชนะ พร้อมด้วยศิษโยม และศรัทธา ทั้งหลาย ได้คิดสร้างถวายทานกับมัคคา และพระเจดีย์สุเทพฯ ในปีพุทธศักราช ๒๔๗๘, สิ้นเงิน ๔๕๐ บาทฯ”
ซึ่งจํานวนเงิน ๔๕๐ บาทนี้ น่าจะหมายถึงเงินที่ครูบาเจ้าศรีวิชัยร่วมทําบุญในพิธีถวายทานตอนที่สร้าง ถนนขึ้นสู่ดอยสุเทพเสร็จใหม่ ๆ ส่วนจุดปักหมุดซีเมนต์นี้ ประชาชนเชื่อกันว่าอาจจะเป็นจุดที่มีการลงจอบแรก ในวันวางศิลาฤกษ์สร้างถนนขึ้นสู่ดอยสุเทพ