กระบวนการก่อรูปรัฐสมัยใหม่กับความเป็นท้องถิ่นล้านนา: เหตุผลแท้จริงที่ครูบาเจ้าศรีวิชัยต้องอธิกรณ

ความหมายของคําว่าอธิกรณ์

คําว่า “อธิกรณ์” หมายถึง โทษ คดี เรื่องราว ปัญหา ความยุ่งยาก กิจกรรมที่เกิดขึ้นในหมู่สงฆ์ ที่คณะสงฆ์ ต้องจัดการสะสาง ดําเนินการทําให้สงบหรือเป็นไปด้วยดี ปกติเป็นคําที่ใช้กับพระภิกษุสงฆ์ที่ ต้องคดี เรียก “ต้องอธิกรณ์” อธิบายได้ว่า “ต้องอธิกรณ์” หมายถึง การถูกกล่าวโทษ ที่ต้องนําเข้าสู่กระบวนการพิจารณา โดยคณะสงฆ์ผู้มีอํานาจ

งานวิชาการเกี่ยวกับครูบาเจ้าศรีวิชัยในช่วงแรก พบว่า “ต้องอธิกรณ์” ยังไม่ยอมรับว่าเป็นคําที่เหมาะสม กับเหตุของครูบาเจ้าศรีวิชัย ต่อมาคําว่า “ต้องอธิกรณ์” เริ่มใช้กันแพร่หลายมากขึ้น ในงานเขียนและงานวิทยานิพนธ์ต่าง ๆ ระยะหลังการต้องอธิกรณ์หลายครั้งของครูบาเจ้าศรีวิชัย มักสืบเนื่องมาจากข้อกล่าวหาเดิม สรุปได้ดังนี้

๑) จัดอุปสมบทโดยไม่ได้รับอนุญาตจากเจ้าคณะแขวงหรือเจ้าคณะจังหวัด ๒) ตั้งตนเป็นพระอุปัชฌาย์เอง ๓) ออกใบสุทธิและหนังสือตราตั้งคณะตนเอง ๔) ก่อสร้างบูรณะโดยไม่ขออนุญาตกรมศิลป์ ไม่อนุรักษ์รูปแบบดั้งเดิม ๕) ยุยงให้พระสงฆ์ออกจากการปกครองของรัฐ

การที่ได้รับการปล่อยตัวจากข้ออธิกรณ์ในครั้งแรก ครูบาเจ้าศรีวิชัยกลับภูมิลําเนาเดิม และได้รับอนุญาตให้อาศัย อยู่ในวัดใดก็ได้ นับเป็นการลดความไม่พอใจของประชาชนที่นับถือท่านเป็นอย่างมาก การต้องอธิกรณ์ในช่วงระยะที่สอง เหมือนเป็นการทําให้ครูบาเจ้าศรีวิชัยเป็นที่รู้จักในสังคมเมืองมากขึ้น ส่งผลให้บทบาทของท่านโดดเด่นและชัดเจนยิ่งขึ้น เพราะในสายตาชาวเมืองมองเห็นว่ากลุ่มพระสงฆ์และชาวล้านนาที่ติดตามครูบาเจ้าศรีวิชัยมีจํานวนมาก และมีความหลากหลาย ของกลุ่มชาติพันธุ์ จากการที่คณะสงฆ์ส่วนกลางยอมปล่อยให้ครูบาเจ้าศรีวิชัยกลับภูมิลําเนา คนถิ่นล้านนากลับเห็นว่า ไม่มีใครสามารถทําอันตรายต่อท่านได้ ซึ่งเปรียบเสมือนเป็น “ต้นบุญแห่งล้านนา” สถานะและบารมีของครูบาเจ้าศรีวิชัย เป็นที่ศรัทธาสูงสุดในทุกกลุ่มชนของสังคมล้านนา ให้ความเคารพยกย่อง จึงให้การช่วยเหลือและสนับสนุนในด้านการบูรณะ ปฏิสังขรณ์วัดวาอารามต่าง ๆ เพิ่มมากขึ้นเป็นอย่างดี

ข้อสังเกต ครูบาเจ้าศรีวิชัยยังตั้งอยู่ในปณิธานเดิม คือ มุ่งที่จะดํารงรักษาเอกลักษณ์ความเป็นล้านนาแบบดั้งเดิม โดยเฉพาะด้านธรรมวินัยของพุทธศาสนา แม้ว่าพระราชบัญญัติลักษณะปกครองคณะสงฆ์ ร.ศ.๑๒๑ (พ.ศ. ๒๔๔๕) จะเข้ามามีอํานาจควบคุมพระสงฆ์ในล้านนา จนเกิดการแบ่งกลุ่มในหมู่พระสงฆ์ล้านนา ก็ไม่ทําให้ครูบาเจ้าศรีวิชัย สะทกสะท้านต่ออํานาจรัฐจากส่วนกลาง การต้องอธิกรณ์ในช่วงแรกจนถึงช่วงที่สอง แทนที่ชาวล้านนาจะเสื่อมความศรัทธา ในตัวครูบาเจ้าศรีวิชัย กลับเป็นว่า ความศรัทธาเพิ่มขึ้นกว่าเดิมตามแรงบีบคั้นจากส่วนกลาง

ความมุ่งมั่นและจริยวัตรที่น่าเลื่อมใสของครูบาเจ้าศรีวิชัย ซึ่งสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส สมเด็จพระสังฆราชเจ้าองค์ที่ ๑๐ ยังทรงชื่นชม ทั้งที่ท่านเองเป็นประมุขส่วนกลาง มีอํานาจที่จะตัดสินหรือจัดการ อย่างใดอย่างหนึ่งต่อการยึดมั่นในแนวทางของครูบาเจ้าศรีวิชัย จึงไม่แปลกอะไรที่รากฐานแห่งความศรัทธาครูบาเจ้าศรีวิชัย จะมีพลังมากขึ้น และที่น่าสังเกตอีกประการหนึ่ง ชาวล้านนามองว่าท่านเป็นพระอริยสงฆ์ มิได้ประพฤติผิดในธรรมข้อใด

แต่ทางส่วนกลางถือว่าท่านต้องอธิกรณ์ ถือได้ว่าเป็นการตีความที่ต่างกันระหว่างชาวล้านนากับผู้ปกครองและคณะสงฆ์ จากส่วนกลาง

คําชื่นชมของ สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส สมเด็จพระสังฆราชเจ้าองค์ที่ ๑๐

“วันนี้ฉันได้พบตัวพระศรีวิชัย (๑๔ ก.ค. ๒๕๖๔) ได้ไต่สวนเห็นว่า เป็นพระที่อ่อนโยน ไม่ใช้ผู้ถือกระด้าง ไม่ใช่เจ้าเล่ห์เจ้ากล ไม่ค่อยรู้ธรรมวินัย แต่มีสมณสัญญา พอจะประพฤติอยู่ได้อย่างพระที่ห่างเหินจากสมาคม การตั้งตัว เป็นพระอุปัชฌาย์เองนั้น ด้วยไม่รู้ความหมาย ไม่รู้ประกาศ ทําตามธรรมเนียมคืออุปัชฌายะของเธอ ชื่อสุมนะ เมื่อจะถึงมรณภาพ ได้ตั้งเธอให้ปกครองวัดและบริษัทแทน จนถือว่าได้ตั้งมาจากอุปัชฌายะ เพราะการที่ไม่รู้จัก ระเบียบแบบแผน ถูกเอาตัวมาลงโทษกักไว้ เกือบไม่รู้ว่าเพราะความผิดอะไร พระอย่างนี้ต้องการอธิบายให้รู้จักผิดชอบ ดีกว่าจะลงโทษ”

แชร์องค์ความรู้ครูบาเจ้าศรีวิชัยให้กับเพื่อนๆ

thไทย